ขั้นตอนเช็คผังสีโซนที่ดิน
ขั้นตอนเช็คผังสีโซนที่ดิน
ขั้นตอนแรกให้เข้าไปที่เว็ปไซต์กรมที่ดิน https://landsmaps.dol.go.th
จากนั้นเลือกทำขึ้นตอนตามภาพ
กฎหมายผังเมือง กับการแบ่งโซนสีพื้นที่ในการใช้ทำประโยชน์ที่ดิน
สีเหลือง ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นน้อย มีรหัสผังกำกับคือ ย.1-ย.4 โดยที่ดินประเภทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสภาพแวดล้อมของเขตชานเมืองให้อยู่ในระดับที่ดีและรองรับซึ่งการขยายตัวของการอยู่อาศัยในเขตชานเมืองรวมไปถึงเขตการให้บริการขนส่งมวลชนอีกด้วย
สีส้ม ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง มีรหัสผังกำกับคือ ย.5-ย.7 โดยที่ดินประเภทนี้มีจุดประสงค์ที่จะมุ้งเน้นไปที่การรองรับการอยู่อาศัยและการขยายตัวบริเวณเขตต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน รวมไปถึงพื้นที่เขตให้บริการขนส่งมวลชน
สีน้ำตาล ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูง มีรหัสผังกำกับคือ ย.8-ย.10 ที่ดินประเภทนี้จะเน้นไปที่การอนุรักษ์และดำรงให้คงอยู่ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และรองรับการอยู่อาศัยในเขตขนส่งมวลชนไปจนถึงเขตเมืองชั้นในที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชย์อีกด้วย
สีแดง ที่ดินประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินที่มุ่งเน้นไปในทางพาณิชยกรรมสูง มีรหัสผังกำกับคือ พ.1-พ.5 โดยจุดประสงค์ในการใช้งานที่ดินสีนี้คือการเป็นศูนย์พาณิชยกรรมตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งมีเป่าหมายในการพัฒนาระดับศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าบริการ รวมไปถึงการท่องเที่ยว ทั้งนี้ก็ยังนำไปใช้เพื่อการอยู่อาศัยได้เช่นกัน
สีม่วง ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม มีรหัสผังกำกับคือ อ.1 และ อ.2 โดยที่ อ.1 นั้นจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลภาวะต่ำ ส่วน อ.2 นั้นเป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือย่านอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตและส่งออก และสามารถใช้ที่ดินเพื่อกิจการในรูปแบบอื่นได้ไม่เกิน 10%
สีเม็ดมะปราง เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์ในรูปแบบคลังสินค้า มีรหัสกำกับคือ อ.3 โดยพื้นที่แถบนี้จุดประสงค์ในการใช้งานคือนำไปสร้างเป็นครังสินค้า คลังบรรจุภัณฑ์ หรืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประกอบต่างๆโดยไม่มีการผลิต และอุตสาหกรรมในชุมชน
สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว จัดเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม มีรหัสกำกับคือ ก.1-ก.3 ทีดินประเภทนี้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร หรือ เกี่ยวข้องกับการเกษตร และสถานที่ราชการ โดยจะเน้นหนักไปที่การอนุรักษ์และดูแลพื้นที่การเกษตร เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม โดยอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกินร้อยละห้า และร้อยละสิบ
สีเขียว จัดว่าเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม จะมีลักษณะคล้ายๆกับที่ดินสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว มีรหัสกำกับคือ ก.1-ก.3 ทีดินประเภทนี้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร หรือ เกี่ยวข้องกับการเกษตร และสถานที่ราชการ โดยอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกินร้อยละห้า และร้อยละสิบ
สีน้ำตาลอ่อน ที่ดินประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย มีรหัสกำกับคือ ศ.1-ศ.2 โดยมักจะเป็นที่ดินที่เน้นไปในทางการอนุลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ และยังสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์และท่องเที่ยว จึงสามารถสร้างโรงแรมได้ แต่ก็มีเงื่อนไข คือต้องไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่จนเกินไปและไม่สามารถสร้างหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ได้
สีน้ำเงิน ที่ดินประเภทหน่วยงานราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มีรหัสกำกับคือ ส. ให้พูดสั่นๆแบบเข้าใจง่ายเลยก็คือ เป็นที่ดินของรัฐนั่นเอง มีทั้ง สถานศึกษา ศาสนสถาน โรงพยาบาล และ สถานที่ราชาการต่างๆ จึงมักจะพบพื้นที่สีน้ำเงินให้เห็นกระจายตัวอยู่ในเกือบทุกพื้นที่ บางครั้งพื้นที่ใดที่ทางรัฐยังไม่นำมาทำการอันเป็นประโยชน์ก็มักจะนำมาปล่อยสัมปทานให้เช่าแก่ภาคเอกชนแทน
จากข้อมูลข้างต้นก็จะเห็นได้ชัดว่าที่ดินแต่ละพื้นที่จะถูกระบุข้อกำหนดการปลูกสร้าง การนำไปใช้ทางการพาณิชย์ หรือ ทางสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ กำกับชัดเจนอยู่แล้ว ก่อนจะเลือกซื้อที่ดินซักที่ อย่าลืมตรวจเช็คความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เราหลังหักในภายหลังเพราะที่ดินผืนนั้นนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการไม่ได้